วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

จันทรุปราคา

จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธจันทรคราสราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือนอังกฤษlunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node)
จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ

มาตราดังชง[แก้]

อองเดร ดังชงคิดค้นมาตราต่อไปนี้ (เรียก มาตราดังชง) เพื่อจัดความมืดโดยรวมของจันทรุปราคา[1]
L=0: อุปราคามืดมาก แทบมองไม่เห็นดวงจันทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลางคราสเต็มดวง (mid-totality)
L=1: อุปราคามืด มีสีเทาหรือออกน้ำตาล แยกแยะรายละเอียดได้ยาก
L=2: อุปราคาสีแดงเข้มหรือสนิม เงากลางมืดมาก ขณะที่ขอบนอกของอัมบราค่อนข้างสว่าง
L=3: อุปราคาสีแดงอิฐ เงาอัมบราปกติมีขอบสว่างหรือสีเหลือง
L=4: อุปราคาสีแดง-ทองแดงหรือส้มสว่างมาก เงาอัมบราสีออกน้ำเงินและขอบสว่างมาก

ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง[แก้]

เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
  • ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
  • ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
  • ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
  • ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
  • ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น